วันที่ 18 พ.ค.ที่ผ่านมา กลุ่มจิตอาสา Go-Eco Phuket เว็บสล็อตแตกง่าย ได้โพสต์ คลิปวีดิโอความยาวประมาณ 1.11 นาที พร้อมข้อความระบุว่า “#RIPฉลามวาฬแม่ลูกที่ภูเก็ต จับไปทำไมปลาเล็กปลาน้อย จับปลาใหญ่ดีกว่า แถมได้ลูกในท้องมันด้วย เวรจริงๆ!! Cr.Aqua centre” โดยในคลิปดังกล่าว เป็นภาพเรือประมงอวนลากแขวนฉลามวาฬขนาดใหญ่ไว้บนเรือ ที่กำลังจอดอยู่กลางทะเล และลูกเรือประมงกำลังช่วยกันแกะเชือกออกจากตัวฉลามและปล่อยให้ร่างลงกลับไปในทะเลในสภาพที่ตายแล้ว
อย่างไรก็ตามหลังจากมีการแช่ภาพนิ่งและคลิปดังกล่าวออกไป มีคนเข้ามาแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องนี้เป็นอย่างมาก เพราะเป็นเหตุการณ์ที่ไม่มีใครคาดคิดว่าเรือประมงจะจับฉลามวาฬซึ่งเป็นสัตว์ที่ฉลาด และมักจะว่าน้ำมาเล่นกับนักท่องเที่ยวลงไปเล่นน้ำบ่อยครั้ง ผู้ที่เข้ามาแสดงความคิดเห็นส่วนใหญ่จะประณามการกระทำของเรือดังกล่าว
หลังจากมีการแพร่ภาพและคลิปออกไป ทางผู้สื่อข่าวได้สอบถาม กลุ่ม จิตอาสา Go-Eco Phuket รายหนึ่ง กล่าวว่า เหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้น
เมื่อประมาณ 15.00 น. วันนี้ (18 พ.ค.61) ขณะที่เรือไดร์ฟวิ่งพากลุ่มนักดำน้ำ แล่นผ่านบริเวณเส้นทางจากเกาะพีพี – เกาะราชา เพื่อกลับมายังภูเก็ต เมื่อมาถึงกลางทะเล ระหว่างเกาะราชากับเกาะดอกไม้ ได้พบเห็นเรือประมงลำหนึ่ง ข้างเรือระบุ ชื่อ “แสงสมุทร 3” ซึ่งเป็นเรือประมงอวนลาก กำลัง บรรทุกฉลามวาฬขนาดใหญ่อยู่บนเรือ ระหว่างที่วิ่งเข้าไปใกล้ นักดำน้ำบนเรือจึงช่วยตะโกนให้หยุดเรือ และปล่อยฉลามวาฬที่อยู่บนเรือกลับลงทะเล ซึ่งกัปตันเรือแสงสมุทร 3 รับปากว่าจะปล่อย
แต่สุดท้ายไม่ยอมปล่อยฉลามวาฬตัวดังกล่าวกลับลงทะเลตามที่รับปาก และพยายามจะขับเรือออกห่าง กัปตันเรือไดร์ฟวิ่งได้ขับตามอีกครั้ง เพื่อกดดันให้ปล่อยอีกครั้ง เมื่อเห็นจนมุมทางเรือลำดังกล่าวจึงยอมจอดเรือและปล่อยฉลามวาฬตัวดังกล่าวลงทะเลแต่จากการสังเกตพบว่าฉลามวาฬตัวดังกล่าวน่าจะถูกจับขึ้นมาจากทะเลไม่ต่ำกว่า 2 ชั่วโมงแล้วเนื่องจากผิวหนังถูกตากแดดจนแห้ง และมีอาการแน่นิ่ง ไม่มีการตอบสนอง
แต่ที่ทำเอานักดำน้ำที่อยู่บนเรือถึงกับร้องไห้ออกมาทั้งลำ คือภาพขณะที่ลูกเรือประมงตัดเชือกที่โยงหางฉลามแขวนไว้ ให้ตกลงจากเรือพบว่ามี ลูกฉลามวาฬขนาดเล็ก ที่ยังไม่ครบกำหนดคลอด หลุดออกจากช่องคลอดของฉลามวาฬตัวดังกล่าวและจมหายไปในทะเลซึ่งถือว่าเป็นความสูญเสียครั้งยิ่งใหญ่ของท้องทะเล เพราะตัวแม่เองก็เสียตายอย่างอนาถ ส่วนลูกก็ตายตั้งแต่ยังไม่ครบกำหนดคลอด ซึ่งหลังจากปล่อยฉลามวาฬกลับลงทะเลแล้วเรือลำดังกล่าวจะขับออกไปจากที่เกิดเหตุ
แก้ปัญหาลิง ภูเก็ตพร้อม คัดบางส่วนลงเกาะสร้างนิคมให้อยู่ แต่ยังหวั่นว่ายน้ำกลับเข้าฝั่ง
จากกรณีคณะกรรมการติดตามกลไกและพิจารณาการปกป้องคุ้มครองสัตว์ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) จัดสัมมนาเรื่อง “แนวทางการบริหารจัดการปัญหาลิงในพื้นที่วิกฤติ ซึ่งในการ สัมมนา ได้มีการพูดถึงการทำแผนแม่บทการบริหารจัดการปัญหาลิงในพื้นที่ 12 จังหวัด โดยจะใช้จังหวัดภูเก็ตเป็นพื้นที่ต้นแบบในการจัดทำนิคมลิง โดยมีการลงพื้นที่สำรวจเกาะ 5 เกาะที่มีความพร้อม ได้แก่ เกาะงำ เกาะปายู เกาะมาลีหรือมะลิ เกาะแพ และ เกาะทะนาน แต่จำเป็นต้องเติมให้สมบรูณ์..
เกี่ยวกับเรื่องนี้ นายนรภัทร ปลอดทอง ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต กล่าว ถึงแนวทางการแก้ปัญหาลิงในพื้นที่จังหวัดภูเก็ต ว่า ขณะนี้ได้มีการศึกษาความเป็นไปได้ในการนำลิงบางส่วนไปไว้บนเกาะซึ่งเป็นเกาะร้างไม่มีคนอยู่อาศัย โดยได้มีการศึกษาความพร้อมของเกาะในการรองรับ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของพืชอาหาร แหล่งน้ำ หรืออื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เบื้องต้นมีจำนวน 5 เกาะ ได้แก่ เกาะงำ เกาะปายู เกาะมาลีหรือมะลิ เกาะแพ และเกาะทะนาน
นอกจากนี้ได้มีการรับฟังความคิดเห็นของชาวบ้านที่ได้รับความเดือดร้อนจากลิง โดยเฉพาะจุดที่วิกฤตค่อนข้างมาก คือ บ้านยามู ต.ป่าคลอก อ.ถลาง โดยจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นไปแล้ว 2 ครั้ง ซึ่งชาวบ้านเห็นด้วยที่จะให้ย้ายลิงบางส่วนไปไว้ที่เกาะ โดยเฉพาะตัวที่ดุร้าย เนื่องจากขณะนี้ลิงได้บุกรุกเข้าไปในบ้านเรือนของชาวบ้าน เมื่อชาวบ้านเผลอก็จะเข้าไปรื้อค้นข้าวของภายในบ้าน แต่ชาวบ้านเองก็ยังมีความห่วงเรื่องอาหารและแหล่งน้ำที่จะรองรับลิงที่จะนำไปปล่อยด้วย นอกจากนั้นก็ยังมีความเป็นห่วงเรื่องของลิงที่ถูกนำไปปล่อยเกาะถ้าเรื่องอาหาร เรื่องน้ำมีไม่พร้อมลิงเหล่านี้อาจจะว่ายน้ำกลับมาขออาหารจากชาวบ้านหรือนักท่องเที่ยวอีกก็ได้
นายนรภัทร กล่าวต่อไปว่า เบื้องต้นทางจังหวัดได้อนุมัติงบประมาณ 900,000 บาท ในการเข้ามาดูแลบริหารจัดการและการเคลื่อนย้ายลิงไปไว้บนเกาะ และ การทำหมันลิง ซึ่งการดำเนินการต่างๆ มีขั้นตอนที่ชัดเจน ซึ่งนอกจากพื้นที่ยามูแล้วทางจังหวัดยังมีพื้นที่ที่มีปัญหาเรื่องลิงกับชาวบ้านและลิงกับนักท่องเที่ยวอีก 6 จุด ซึ่งทางจังหวัดจะจัดให้มีการทำประชาพิจารณ์รับฟังความคิดเห็นจากประชาชน ในระหว่างวันที่ 22-28 พฤษภาคมนี้ เพื่อยืนยันแนวทางการแก้ปัญหาอีกครั้ง
อย่างไรก็ตามก่อนที่จะมีข้อสรุปว่า จะย้ายลิงไปไว้บนเกาะร้างนั้น ทางหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ปฏิบัติตามขั้นตอนทุกประการ เริ่มทั้งแต่การสำรวจปัญหาความเดือดร้อนหรือผลกระทบที่เกิดขึ้นกับคนในชุมชน และการศึกษาความเหมาะสมของพื้นที่เกาะร้างต่างๆ เพื่อถึงเวลาที่จะเคลื่อนย้ายลิงไปก็จะได้ไม่มีปัญหา และยืนยันว่า จะไม่ใช่การย้ายลิงทั้งหมด แต่จะย้ายเพียงบางส่วนเท่านั้น จากนั้นจะติดตามผลว่า เมื่อปล่อยไปแล้วเป็นอย่างไร สามารถอยู่ได้หรือไม่ เพื่อจะได้ลดปริมาณลิงบนฝั่ง และลดปัญหาที่เกิดขึ้น ที่เป็นข่าวค่อนข้างบ่อย คือ นักท่องเที่ยวถูกลิงทำร้าย สล็อตแตกง่าย